กรดเกลือ
กรดเกลือ 35% หรือ กรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric Acid) 35% เป็นสารประกอบเคมีประเภทกรดละลายในน้ำ มีพลังการกัดกร่อนสูง เป็นกรดที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมสี อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหรรมโลหะ อุตสาหกรรมแร่ ใช้ในการปรับความเป็นกรด-ด่าง การผลิตคลอไรด์ การกัดผิวทำความสะอาดชิ้นโลหะ เป็นต้น
รายละเอียด กรดเกลือ/กรดไฮโดรคลอริก
กรดไฮโดรคลอริก
กรดเกลือ รุ่นแกลลอน
- ขนาด :
- หน่วยขาย : ลัง ( บรรจุลังละ 4 แกลลอน)
กรดไฮโดรคลอริก
กรดเกลือ รุ่นถัง
- ขนาด : 20 ลิตร
- หน่วยขาย : ถัง
กรดไฮโดรคลอริก
กรดเกลือรุ่นขวด
- ขนาด :
- หน่วยขาย : ลัง ( บรรจุลังละ 12 ขวด)
ข้อควรระวัง และอันตรายของกรดเกลือ
- เกิดการระเบิด
เมื่อมีการทำปฏิกิริยากับโลหะหรือสารอื่นๆจะก่อให้เกิดควันที่เป็นพิษของก๊าซ Hydrogen chloride และเกิดปฏิกิริยาที่มีความไวไฟหรือเกิดระเบิดได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับโลหะกลุ่มอัลคาไล, ด่าง, ทองแดง, เหล็ก, อลูมิเนียม, อัลล์ลอยด์ของทองแดง, อลูมิเนียม
- เกิดปฏิกิริยารุนแรง
หากกรดที่มีความเข้มข้นสูงสัมผัสกับน้ำ จะทำให้เกิดปฏิกิริยารุ่นแรง มีความเป็นพิษสูง และมีฤทธิ์กัดกร่อนสูงมาก ควันและไอจะระคายเคืองต่ออวัยวะร่างกาย เช่น ดวงตา, ทางเดินหายใจ, เยื่อบุอ่อน
- ผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด
ทั้งกรดไฮโดรคลอริกและแก๊ซไฮโดรเจนคลอไรด์ เมื่อได้รับเข้าไปในร่างกายทั้งทางการกินหรือสัมผัสในปริมาณสูง จะทำให้ความดันโลหิตลดต่ำลง ระบบสมดุลน้ำและของเหลวในร่างกายเสียไป และเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร
- ผลกระทับต่อผิวหนัง
หากผิวหนังได้รับพิษจากการสัมผัสกรดไฮโดรคลอริก จะทำให้ผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นและระคายเคือง จนกระทั่งทำให้เกิดแผลเป็น ขนาดใหญ่และลึก คล้ายแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และอาจเกิดแผลที่เยื่อบุซึ่งเป็นเนื้อเยื่ออ่อนได้หากสัมผัสสารละลายที่เจือจาง ในเด็กจะพบปัญหาที่ผิวหนังมากกว่าผู้ใหญ่
- ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ
กรดไฮโดรคลอริกก่อให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุจมูก เยื่อบุทางเดินหายใจ และลำคอ อาการจะเริ่มเกิด เมื่อสูดดมเข้าไปในระดับ 35 ส่วนในล้านส่วน และถ้าหากได้รับเข้าไปถึง 50-100 ส่วนในล้านส่วน อาการจะรุนแรงจนทนไม่ได้ มีปัญหากับปอด ระบบหายใจเป็นแผลมีหนอง ทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนบวมมาก จนเกิดการอุดตันทางเดินหายใจ
ผู้ที่ได้รับพิษขั้นรุนแรงจะมีอาการหายใจไม่ทัน หายใจหอบ เนื่องจากภาวะอุดกั้นหลอดลมขนาดเล็ก บางรายอาจเกิดภาวะปอดบวมน้ำซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก สำหรับในเด็ก อาจมีอาการคล้ายหอบหืด เป็นเวลานานหลายเดือน และไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาขยายหลอดลม
- พิษต่อตา
ไอระเหยของไฮโดรเจนคลอไรด์หรือกรดไฮโดรคลิริก ทำให้เซลล์กระจกตาตาย เลนส์ตาเกิดเป็นต้อกระจก และความดันภายในลูกตาเพิ่มขึ้นสูงจนทำให้เกิดเป็นต้อหินได้ กรณีที่สัมผัสกับสารละลายที่เจือจาง จะเกิดแผลที่กระจกตาด้านนอก
- ผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร
การได้รับพิษโดยการกินกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น ก่อให้เกิดอาการปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน กลืนลำบาก และทำให้เกิดการหลุดลอกของเยื่อบุหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร เกิดเป็นแผลภายใน มีเลือดออก และอาจทะลุได้
ข้อควรระวังและแนวทางปฏิบัติ เมื่อใช้กรดเกลือ (HCl) 35%
- การเก็บรักษาควรเก็บแยกจากเคมีภัณฑ์อื่นๆ
- ควรจัดห้องปฏิบัติงาน ให้มีระบบระบายอากาศถ่ายเทสะดวก
- ควรมีก๊อกน้ำ ฝักบัว และอ่างน้ำในบริเวณสถานที่ปฏิบัติงาน
- อย่าสัมผัสกรดเกลือซ้ำๆ หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน
- ควรสวมหน้ากากป้องกันไอกรด, ถุงมือกันสารเคมี, แว่นตานิรภัย และเสื้อผ้าคลุม ให้ได้มาตรฐาน
- ควรเก็บภาชนะที่บรรจุกรดไฮโดรคลอริกให้ปิดแน่นเสมอ อยู่ในที่แห้งและเย็น ระวังอาจเกิดแรงดันในภาชนะได้
- ถ้าสัมผัสถูกกรดเกลือให้เปิดน้ำล้างบริเวณที่สัมผัสถูกด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15-20 นาที เพื่อความแน่ใจว่าล้างสารพิษออกหมด ถอดเสื้อผ้าและอุปกรณ์ที่เปื้อนออก
- หากหายใจเข้าไป ให้นำผู้ป่วยออกมารับอากาศบริสุทธิ์ หากหายใจติดขัด ให้ออกซิเจน และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์
- หากรับประทานเข้าทางปากให้ล้างท้องด้วย 5% โซเดียมคาร์บอเนต ให้ดื่มสารละลายอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ ดื่มนมสด ไข่ขาว
- ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้รีบทำการช่วยหายใจ ด้วยวิธีปากต่อปาก
- สุดท้ายรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์
การประยุกต์ใช้งานกรดเกลือ
- อุตสาหกรรมอาหาร : Hydrolized แป้งและโปรตีน เพื่อผลิตอาหารรูปแบบต่างๆ
- อุตสาหกรรมหนัง : ใช้ฟอกหนัง ฟอกสี
- ระบบบำบัดน้ำเสีย : ใช้ปรับสภาพความเป็นกรดด่าง, ฆ่าเชื้อ
- อุตสาหกรรมโลหะ : ชุบเคลือบโลหะ, ทำความสะอาดโลหะ
- อุตสาหกรรมสี : ใช้เป็นตัวทำละลาย
- อุตสาหกรรมปิโตรเคมี : กระบวนการเตรียมสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น
- เป็นส่วนผสมในน้ำยาทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ
ประโยชน์กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก
1. อุตสาหกรรม สามารถใช้งานต่างๆ เช่น
- ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมีหรือตัวทำละลายในการสังเคราะห์สารอินทรีย์
- ใช้ทำความสะอาดโลหะ หรือเป็นสารทำน้ำให้บริสุทธิ์ เช่นการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
- ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
- ใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับยาง และอุตสาหกรรมยางรถยนต์หรือพลาสติกเป็นต้น
- ใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เพื่อสกัดแร่ชนิดต่างๆ
- ใช้อุตสาหกรรมฟอกหนัง
- ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
2. ทางการแพทย์ สามารถใช้ในวงการแพทย์ได้ เช่น
- ใช้สำหรับการรักษาเมตฟอร์มินจากโรคสมอง และโรคตับแข็ง
- ใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อหรือยาต้านเชื้อจุลชีพในทางการแพทย์
Reviews
There are no reviews yet.